ชัชชาติคืนจตุจักรให้ รฟท. ถ้าปัญหาเยอะ-ผอ.ตลาดนัดโต้ 5 ข้อม็อบ

เมื่อวันที่ 10 ม.ค.67 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงกรณีผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรยื่นหนังสือร้องเรียนให้ยกเลิกประกาศสำนักงานตลาด รวมถึงสัญญาให้เช่าแผงค้าในตลาดนัดจตุจักร ปี 2567 ว่า เป็นเรื่องของธุรกิจซึ่งมีทั้งคนพอใจและไม่พอใจ กทม.จะดูแลเพื่อให้เกิดความยุติธรรมมากที่สุด ตลาดจตุจักรเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ กทม.ดูแล ต้องดูว่าสุดท้ายแล้วมีประโยชน์หรือไม่ที่จะให้ กทม.ดูแลในอนาคตหรือจะคืนไปให้ รฟท.ดูแล หากมีปัญหามากนักขอไปดูรายละเอียดอีกครั้งก่อนว่ามีปัญหาตรงไหน จะพยายามดูแลให้ยุติธรรมที่สุด

ด้านนายสุธน สุวรรณภานนท์ ผอ.ตลาดนัดจตุจักร กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดนัดจตุจักรมีนักท่องเที่ยวกลับมาแล้ว จำนวนที่เข้ามาเดินวันละเกือบ 2 แสนคน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 70% คนไทย 30% ทั้งนี้ ประเด็นร้องเรียนของกลุ่มผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรบางส่วน มีดังนี้ ประเด็นที่ 1 ค่าบริหารส่วนกลาง 1,000 บาทและค่าปรับ เดิมค่าเช่าอยู่ในการบริหารของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 3,600 บาท/เดือน เมื่อมาให้ กทม.บริหารเหลือเพียง 1,800 ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งไม่เคยมีการปรับขึ้นค่าเช่า ซึ่งจากการที่ให้ผู้ค้าโครงการ 1-5 ซึ่งมีจำนวน 1,585 แผงค้า เข้ามาต่อสัญญาก่อนในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ม.ค. ปรากฏว่ามีผู้มาต่อสัญญาแล้ว 628 แผงค้า คิดเป็น 39.67% (ถึงวันที่ 6ม.ค.67) ซึ่งทุกรายไม่ติดใจในอัตราค่าใช้จ่ายต่างๆที่กำหนด
ประเด็นที่ 2 ต้องการให้รถเข้ามาจอดในตลาดนัดจตุจักรได้ทั้งวัน ซึ่งตลาดนัดจตุจักรไม่สามารถทำตามความประสงค์ได้ เนื่องจากต้องให้บริการความสะดวกและความปลอดภัยกับคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว ผู้มาใช้บริการมากกว่า 100,000 คน/วันมากกว่า และขณะนี้ได้มีการจัดตลาดนัดกลางคืนในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ได้กำหนดห้ามรถเข้าหลัง 18.00 น. เพิ่มเติมด้วยประเด็นที่ 3 ไม่ต้องการให้มีตลาดนัดกลางคืน การจัดตลาดนัดกลางคืนเพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้มาใช้บริการและทำให้ผู้ค้ามีเวลาจำหน่ายสินค้ามากขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น.

เมื่อวันที่ 10 ม.ค.67 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงกรณีผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรยื่นหนังสือร้องเรียนให้ยกเลิกประกาศสำนักงานตลาด รวมถึงสัญญาให้เช่าแผงค้าในตลาดนัดจตุจักร ปี 2567 ว่า เป็นเรื่องของธุรกิจซึ่งมีทั้งคนพอใจและไม่พอใจ กทม.จะดูแลเพื่อให้เกิดความยุติธรรมมากที่สุด ตลาดจตุจักรเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ กทม.ดูแล ต้องดูว่าสุดท้ายแล้วมีประโยชน์หรือไม่ที่จะให้ กทม.ดูแลในอนาคตหรือจะคืนไปให้ รฟท.ดูแล หากมีปัญหามากนักขอไปดูรายละเอียดอีกครั้งก่อนว่ามีปัญหาตรงไหน จะพยายามดูแลให้ยุติธรรมที่สุด

ด้านนายสุธน สุวรรณภานนท์ ผอ.ตลาดนัดจตุจักร กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดนัดจตุจักรมีนักท่องเที่ยวกลับมาแล้ว จำนวนที่เข้ามาเดินวันละเกือบ 2 แสนคน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 70% คนไทย 30% ทั้งนี้ ประเด็นร้องเรียนของกลุ่มผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรบางส่วน มีดังนี้ ประเด็นที่ 1 ค่าบริหารส่วนกลาง 1,000 บาทและค่าปรับ เดิมค่าเช่าอยู่ในการบริหารของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 3,600 บาท/เดือน เมื่อมาให้ กทม.บริหารเหลือเพียง 1,800 ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งไม่เคยมีการปรับขึ้นค่าเช่า ซึ่งจากการที่ให้ผู้ค้าโครงการ 1-5 ซึ่งมีจำนวน 1,585 แผงค้า เข้ามาต่อสัญญาก่อนในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ม.ค. ปรากฏว่ามีผู้มาต่อสัญญาแล้ว 628 แผงค้า คิดเป็น 39.67% (ถึงวันที่ 6ม.ค.67) ซึ่งทุกรายไม่ติดใจในอัตราค่าใช้จ่ายต่างๆที่กำหนด
ประเด็นที่ 2 ต้องการให้รถเข้ามาจอดในตลาดนัดจตุจักรได้ทั้งวัน ซึ่งตลาดนัดจตุจักรไม่สามารถทำตามความประสงค์ได้ เนื่องจากต้องให้บริการความสะดวกและความปลอดภัยกับคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว ผู้มาใช้บริการมากกว่า 100,000 คน/วันมากกว่า และขณะนี้ได้มีการจัดตลาดนัดกลางคืนในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ได้กำหนดห้ามรถเข้าหลัง 18.00 น. เพิ่มเติมด้วยประเด็นที่ 3 ไม่ต้องการให้มีตลาดนัดกลางคืน การจัดตลาดนัดกลางคืนเพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้มาใช้บริการและทำให้ผู้ค้ามีเวลาจำหน่ายสินค้ามากขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น

ชัชชาติคืนจตุจักรให้ รฟท. ถ้าปัญหาเยอะ-ผอ.ตลาดนัดโต้ 5 ข้อม็อบ

โดยให้สิทธิผู้ค้าเดิมแสดงความจำนงก่อนที่จะหาผู้ค้ารายใหม่มาขายในจุดนั้นๆ ประเด็นที่ 4 กล่าวหาเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ค้ารถเข็น ปัจจุบันมีการจัดระเบียบให้ตั้งวางในจุดที่ไม่กีดขวางการสัญจรนักท่องเที่ยว และต่อไปจำเป็นต้องจัดหาพื้นที่ ควบคุมจัดระเบียบและคัดกรองผู้ค้ารถเข็นที่เข้ามาอย่างถูกต้องให้ค้าขายได้ มีจำนวนน้อยลง เกิดความเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น ประเด็นที่ 5 ไม่ช่วยเหลือผู้ค้าที่ขายของไม่ได้ เรื่องนี้ตลาดทำหลายๆด้านแล้ว ทั้งการจัดตลาดนัดกลางคืนก็เป็นการช่วยผู้ค้าที่อยู่ในทำเลไม่ดีขายของไม่ได้ตัวผู้ค้าต้องพัฒนาตัวสินค้าของตนเองด้วย รวมถึงได้จัดสอนผู้ค้าให้ขายออนไลน์ได้อีกทางหนึ่ง

นายสุธนกล่าว ส่วนประเด็นที่ปล่อยให้มีต่างด้าวเข้ามาค้าขายจนตลาดนัดจตุจักรจะกลายเป็นตลาดโรงเกลือ 2 นั้น ยืนยันว่าเป็นลูกจ้างของร้านค้าต่างๆและมีใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว (บัตรชมพู) ส่วนประเด็นที่ กทม.ยังไม่ชำระค่าเช่า รฟท.นั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างกระบวนการด้านกฎหมาย ที่ กทม. กับ รฟม. ร่วมกันพิจารณา.

ศรัทธาแน่นแห่ร่วม “พิธีสวดภาณยักษ์” สะเดาะเคราะห์ แถมได้ “เลขเด็ด” ลุ้นโชค

ศรัทธาแน่น สายมูกว่า 300 คน ร่วม “พิธีสวดภาณยักษ์” สะเดาะเคราะห์วัดดัง ไม่ลืมส่อง “เลขเด็ดงวดนี้” กลับไปเสี่ยงโชคงวด 17/1/67

วันที่ 2 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สายมูกว่า 300 คน ร่วมพิธีสวดภาณยักษ์ สะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ที่วัดมงคลรัตน์คลอง 12 ต.ลำไทร อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เพื่อช่วยเสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิต

โดยมีพระสงฆ์พระพุทธมนต์สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตลอดจนการประกอบพิธีบวงสรวงเทพาอารักษ์ และบวงสรวงท้าวเวสสุวรรณปางทรัพย์อนันต์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และครอบครัว เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ไทย


สำหรับเกจิอาจารย์ชื่อดังที่นั่งปรกอธิษฐานจิตประกอบด้วย พระครูวิธานวรานุกูล ศักดิ์สิทธิภาวรคุโณ เจ้าอาวาสวัดลำกระดาน, พระใบฎีกาสุเทพ ฐิตพโล เจ้าอาวาสวัดดอนใหญ่ และ พระอธิการยุทธนา ฐิติธมฺโม เป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลรัตน์คลอง 12


ซึ่งขณะที่พระสงฆ์ซึ่งเป็นต้นตำรับจาก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ได้ประกอบพิธีสวดภาณยักษ์ใหญ่อยู่นั้น บรรดาสายมูหลายคนที่เข้าร่วมพิธีต่างก็แสดงอาการแปลกๆ และกรีดร้องอย่างดังลักษณะคล้ายยักษ์ ทำให้ผู้ร่วมพิธีตกตะลึงกันเป็นแถว

ภายหลังจากการประกอบพิธีสวดภาณยักษ์เพื่อสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และช่วยเสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิตเสร็จสิ้น บรรดาสายมูต่างจับจ้องไปที่เลขปลายประทัดที่จุดถวายจำนวน 200,000 นัด ปรากฏเป็นเลข 68 และ 969 ส่วนอ่างน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ปรากฏเลข 241 จึงพากันยกโทรศัพท์ขึ้นถ่ายรูปเพื่อนำไปลุ้นรวย 17/1/67